You are currently viewing แมวคิดอย่างไรกับมนุษย์? เราตกเป็นทาสจริงๆแล้วใช่ไหมนะ

แมวคิดอย่างไรกับมนุษย์? เราตกเป็นทาสจริงๆแล้วใช่ไหมนะ

อ่านแล้วจะตกใจ! แมวคิดแบบนี้กับเราจริง ๆ หรอ?

เมื่อประมาณ 9,500 ปีที่แล้ว แมวได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ครั้งแรก ตั้งแต่นั้นมนุษย์กับแมวก็มอบความรักให้กันเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับแมวเจ้านายที่น่ารักของเรา รวมถึงสิ่งที่พวกเขาคิดเกี่ยวกับเราด้วย วันนี้ทองหล่อเพ็ทช็อปจะพาไปดูกันค่ะ ว่าจริง ๆ แล้วแมวคิดกับมนุษย์อย่างไรกันแน่…

John Bradshaw ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมแมวจาก University of Bristol ได้สังเกตพฤติกรรมแมวมาหลายปี เขาได้ข้อสรุปที่น่าสนใจว่า แมวไม่เข้าใจเราเหมือนแบบที่สุนัขเข้าใจ 

แมวปฏิบัติกับคน เหมือนที่แมวปฏิบัติกับแมวด้วยกันเอง

มีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับสุนัขและวิธีที่สุนัขปฏิบัติกับคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุนัขมองว่าคนแตกต่างจากตัวเขาเอง และทันทีที่พวกเขาเห็นมนุษย์พวกเขาจะเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะวิธีที่สุนัขเล่นกับมนุษย์นั้น แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับวิธีที่พวกเขาเล่นกันเอง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีการค้นพบว่าแมวทำตัวแตกต่างจากเดิมเมื่อพวกเขาเข้าสังคมกับเรา แต่แมวรู้แน่ ๆ ว่าพวกเราตัวใหญ่กว่าพวกเขา แต่ดูเหมือนขนาดที่ใหญ่กว่าของคนจะไม่ได้ทำให้พฤติกรรมแมวเปลี่ยนไปมากนัก เช่น การเอาหางถูรอบ ๆ ขาของเราหรือนั่งข้างเรา ก็เป็นสิ่งที่แมวปฏิบัติต่อกันเป็นปกติอยู่แล้ว

แมวปฏิบัติตัวกับเราเหมือนที่ปฏิบัติกับแมวตัวอื่น ๆ เนื่องจากพวกเขาแยกไม่ออกว่าควรจะปฏิบัติตัวกับคนอย่างไร พวกเขาอาจคิดว่าเราเงอะงะด้วยซ้ำ! และมีแมวบางตัวที่คิดว่าตัวเองเหนือกว่าคน อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้คิดว่าเราโง่ เพราะแมวจะไม่ถูตัวกับแมวที่ด้อยกว่าตัวเอง

การอยู่ร่วมกับแมวตัวอื่น อาจทำให้แมวเครียดได้

แมวไม่ใช่สัตว์ป่า ดังนั้นแมวอาจจะรู้สึกเครียดได้หากต้องอยู่ร่วมกับแมวตัวอื่น ๆ และมันส่งผลต่อคุณภาพชีวิต จิตใจ และสุขภาพของแมว และเจ้าของส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ ว่าการอยู่ร่วมกันกับแมวตัวอื่น ๆ สามารถทำให้พวกมันเครียดได้มากแค่ไหน และนอกเหนือจากการเข้ารับการตรวจตามปกติแล้ว สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่แมวถูกพาไปหาสัตว์แพทย์ คือบาดแผลจากการต่อสู้กับแมวตัวอื่น ๆ 

มีแมวจำนวนมากเป็นโรคผิวหนังอักเสบและกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เนื่องจากความเครียดทางจิตใจ โดยเฉพาะการอักเสบของผนังกระเพาะปัสสาวะที่เชื่อมโยงกับฮอร์โมนความเครียดในเลือด วิธีแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือการแยกแมวสองตัวออกจากกัน เช่น ให้ตัวหนึ่งอยู่แต่หน้าบ้าน และอีกตัวอยู่แต่หลังบ้าน แล้วปัญหาเหล่านี้จะหมดไป

แมวฉลาดกว่าที่เราคิด

เวลาที่แมวอยู่ตัวคนเดียว เขาจะเรียนรู้ว่าควรร้องเสียงดังเพื่อให้เจ้าของได้ยินแล้วหันมาสนใจ พวกเขาใช้การเรียนรู้แบบตรงไปตรงมา และการที่แมวบางตัวปฏิบัติต่อสมาชิกคนหนึ่งในบ้านแตกต่างกับคนอื่น ๆ ก็เพราะพวกเขาเรียนรู้ว่าถ้าทำตัวดีกับคนนี้ แล้วจะได้รางวัลอะไรตอบแทน เช่น พวกเขารู้ว่าคนนี้มีแนวโน้มที่จะตื่นนอนตอนตี 4 พวกเขาก็อาจจะไปอ้อนหรือเดินไปถูขาถูแขน เพื่อหวังจะได้ขนมหรืออาหารบ้าง (แบบว่าได้สักนิดก็ยังดี)

สุดท้ายเราอยากจะฝากถึงคนเลี้ยงแมวว่า

แมวสามารถเข้าสังคมได้ แต่เมื่อเทียบกับสุนัขแล้วอาจจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่ค่อนข้างมีความสันโดนอยู่พอสมควร เมื่อเรามีแมว 1 ตัวแล้วเราอาจจะรู้สึกอยากมีตัวที่ 2 หรือ 3 ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องน่าสนุกสำหรับแมวที่ต้องทำความรู้จักกับแมวตัวใหม่ ดังนั้นก่อนเราจะมีแมวเพิ่มอีกตัว ควรศึกษาเจ้าเหมียวที่บ้านของเราดีๆด้วยนะ

 

อ้างอิงจาก: https://www.nationalgeographic.com/news/2014/1/140127-cats-pets-animals-nation-dogs-people-science/

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]