7 พ่อหมา ทาสแมวต้องรู้ ! (สุนัขแมวตัวแรกโปรดให้พ่อแม่คุณอ่าน)
- Post author:tlpadmin
- Post published:2 มิถุนายน 2021
- Post category:ความรู้/โปรโมชั่น-ส่วนลด !!
เลี้ยงสัตว์ครั้งแรกต้องรู้อะไรบ้าง? ใครที่อ่านคอนเทนท์นี่อยู่น่าจะเป็นคนที่กำลังจะหาสัตว์เลี้ยงตัวนึงมาเป็นเพื่อนคู่ใจ หรือพึ่งจะได้น้องหมาน้องแมวตัวใหม่ แน่นอนเรื่องให้รู้และเตรียมตัวเยอะ ใครจะไปจำได้! วันนี้เรามีวิธีทำความเข้าใจง่ายๆให้พ่อแม่มือใหม่
ทำความรู้จักสัตว์เลี้ยง
การเลี้ยงสัตว์ที่ดีเจ้าของจะต้องคำนึงถึง 3 ด้านหลักๆ คือ 1.ด้านสุขภาพ 2.ด้านสังคม (น้องหมาน้องแมวก็มีสังคมนะ) 3.ด้านความสุข
คิดภาพเหมือนเลี้ยงโปเกม่อนหรือทามาก็อต ต้องรักษาสมดุล เขาต้องการกินของอร่อย เขาต้องการความสนใจ เขาต้องการให้เราพาไปเดิน แต่ก็ยังต้องรักษาด้านสุขภาพไว้ เจ้าของมือใหม่หลายคนเลี้ยงหมาแมวครั้งแรกก็รักมาก ให้กินขนมทั้งวันหรือเทอาหารทิ้งไว้ในจานเลย ปัญหาที่เกิดก็คือน้องหมากินขนมจนไม่ยอมกินข้าว หรือกินอาหารที่วางไว้เยอะเกินจำนวนโดยไม่รู้ตัว (การกินโดยไม่รู้ตัวสามารถเกิดขึ้นกับสุนัขพันธุ์ไหนก็ได้ แต่จะพบเห็นบ่อยใน Beagle, Labrador, Dachshund)
สิ่งที่พบบ่อยในไทย: อย่าพึ่งบอกว่า “หมาชั้นไม่อ้วนหรอก ให้ขนมแค่วันละชิ้นเอง” การเลี้ยงของคนไทยนี้เรียกได้ว่าแทบจะไม่เคยเจอปัญหาด้านความสุขเลย เพราะเลี้ยงกันเหมือนลูก สปอยกันจนเป็นเรื่องธรรมดา ยิ่งในบ้านที่เลี้ยงกันในครอบครัวใหญ่ทุกคนพร้อมที่รักน้องหมาน้องแมวตัวใหม่ เมื่อเห็นน้องมาอ้อนก็อยากให้ขนมให้อาหาร ทำให้เกิดเหตุ์การณ์ให้กันคนละชิ้น และทุกคนก็จะคิดว่า “ชิ้นเดียวไม่อ้วนหรอก” แต่ทะว่าทุกคนในบ้านที่ให้ขนมนั้นส่วนมากจะลืมเรื่องการดูแลสุขภาพไปแทนเพราะคิดว่าเดี๋ยวลูกก็พาไปหรือเดี๋ยวแม่ก็เป็นคนพาไปหาหมอเอง จนทำให้ลืมดูแลสุขภาพในด้านต่างๆ
ล่าสุดรพส.ทองหล่อได้ไปเปิดสาขาที่ย่านสาทร ซึ่งย่านนี้ก็มีครัวเรือนที่อยู่กันแบบครอบครัวใหญ่อยู่ไม่น้อยและพบว่าสุนัขหลายตัวที่มาไม่ได้ทำวัคซีนกันเลย จนบางบ้านต้องเสียน้องหมาแมวสุดที่รักให้กับโรคที่ป้องกันได้ง่ายๆด้วยวัคซีน
7 สิ่งพื้นฐานที่สัตว์เลี้ยงต้องทำให้ครบ
เป็น 7 สิ่งที่พ่อแม่มือใหม่ต้องทำ เพราะสำคัญต่อทั้งด้านสุขภาพและสังคมเขา โดยเฉพาะ
- การฉีดวัคซีน: ฉีดเถอะครับ ขนาดนายยกยังบอก….ล้อเล่นนะครับคนละวัคซีน แต่วัคซีนนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าสุนัขเราไปกัดใคร แล้วไม่มีวัคซีนพิษสุนัขบ้าจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ บวกกับแวคซีนเป็นสิ่งจำเป็นอยู่แล้วเพราะจะป้องกันไวรัสร้ายแรงได้หลายตัว (e.g. parvovirus, distemper, and etc.) เพราะไวรัสเหล่านี้ติดแล้วเสียชีวิตได้ และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแค่รักษาตามอาการ
- ป้องกันพยาธิ: เป็นเรื่องที่พบบ่อย เพราะเจ้าของมีความเข้าใจผิด “ฉันเลี้ยงหมาแมวในบ้านปิด ไม่ต้องทำหรอก” แต่พยาธิหนอนหัวใจและลำไส้นั้น พาหะเป็นยุงและที่สำคัญคือเจ้าของหลายคนต้องเสียหมาแมวที่เขารักไปด้วย
- ใส่ใจพฤติกรรม: บางตัวเห่าหรือกัด ทำให้หมาหรือแมวเจ้าของไม่อยากพาออกไปนอกบ้านซึ่งเมื่อทำเช่นนั้นก็จะทำให้เขาถอยห่างออกจากสังคมเรื่อยๆ จนกระทั้งหลายบ้านสุดท้ายต้องล็อคหมาไว้หรือมัดปากเพราะจะกัดคนอื่น ด้านพฤติกรรมต้องฝึกตั่งแต่เด็กๆ โดยหลักการณ์ง่ายๆคือเมื่อเขาทำในสิ่งไม่ควรเราก็จะไม่สนใจเขา แต่หากเขาทำสิ่งที่ดีก็ชมเชย เพราะสุนัขสัมผัสจากโทนเสียงของเราและเรียนรู้จากประสบการณ์
เห็นมั้ยครับ เป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มีหลายอย่างต้องจำและต้องทำความเข้าใจ เขาก็เหมือนเด็กคนหนึ่ง ให้ความใส่ใจ พาเขาออกสังคมและสุดท้ายก็คือให้ความรักเขา สปอยบ้างนิดหน่อยนานๆที เอาแต่พอดีรักษาสมดุลไว้ 🙂
ไม่รู้จะจำหมดได้ไหม? ให้เราช่วยดูแลด้วย Welcome Pack - ดูแลครบจบในแพ็คเดียว
สินค้าแนะนำของลูกสุนัข
เตรียมตัวรับลูกสุนัขมาเลี้ยง ฉบับมือโปรของโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
- Post author:tlpadmin
- Post published:13 พฤษภาคม 2021
- Post category:ความรู้/โปรโมชั่น-ส่วนลด !!
การรับสุนัขมาเลี้ยงโดยเฉพาะลูกสุนัขนั้นเป็นภารกิจที่ใหญ่หลวงเลยก็ว่าได้นะคะ เพราะช่วงวัยนี้เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ และตัวเราเองที่จะต้องเป็นคนฝึกสอนพวกเขาให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งการเข้าสังคม การฝึกให้มีระเบียบวินัย และอื่นๆ ดังนั้นเราควรเตรียมตัวรับมือเช่นกัน ไปดูกันเลยว่าเราต้องเตรียมตัวการเลี้ยงลูกสุนัขอย่างไรบ้าง
พาไปพบสัตวแพทย์
วิธีเลี้ยงลูกสุนัขก็คล้ายๆกับเลี้ยงเด็กตัวเล็กๆเลยนะคะ เราควรพาเขาไปพบสัตวแพทย์เพื่อวางแผนการฉีดวัคซีนประจำปี,ปรึกษาเรื่องโภชนาการที่เหมาะสม, การถ่ายพยาธิ หรือบางกรณีถ้าเราพึ่งรับมาเลี้ยงก็ควรจะตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อให้มั่นใจว่าเขาแข็งแรงดีนั่นเองค่ะ
2. การฝึกเข้าห้องน้ำ (สำคัญมาก เจ้าของต้องอดทนนะคะ)
เราควรหาพื้นที่บริเวณในบ้านให้ลูกสุนัขเขาได้ทำธุระ โดยใช้ถาดรองฉี่และแผ่นรองซับเป็นตัวช่วยค่ะ หาพื้นที่วางถาดรองฉี่และเริ่มพาสุนัขไปถาดฉี่เมื่อเราเห็นเขาเริ่มดมๆหาที่ฉี่ หากเขาปัสสาวะหรือขับถ่ายนอกบริเวณเราควรดุพวกเขา และพาเขาไปที่ถาดรองเพื่อให้เขาเรียนรู้นะคะ แต่หากว่าเป็นลูกสุนัขสายพันธุ์ใหญ่แนะนำให้พาเขาออกไปที่สวนในบ้านเป็นเวลา เพื่อฝึกให้เขารู้ว่าเวลาออกมาข้างนอกคือเวลาทำธุระค่ะ
3.สินค้าจำเป็นสำหรับลูกสุนัข
แน่นอนการเลี้ยงลูกสุนัขต้องเตรียมของให้พร้อมนะคะ เตรียมเช็คลิสให้พร้อมและไป Shopping กันเลย
- ที่นอน
- อาหารลูกสุนัข
- ของเล่น (อันนี้จำเป็นมากเพราะลูกสุนัขจะคันฟัน เขาจะหาของในบ้านกัด ถ้าเราไม่มีของให้เขาเล่นอย่างเพียงพอ)
- ถาดรองฉี่และแผ่นรองซับ
- แชมพูอาบน้ำ
- สายรัดอกและสายจูง
- คอกหรือกรงที่ขนาดเหมาะสม
4.ฝึกการเข้าสังคม
ช่วง 16 สัปดาห์แรกของลูกสุนัขเป็นช่วงที่เรียนรู้ได้ง่ายที่สุดของวัย เราควรพาลูกสุนัขไปเจอกับสมาชิคในบ้านทุกๆคนเพื่อให้สร้างความคุ้นเคย อีกทั้งพาเขาไปออกมาข้างนอกเช่นเจอสัตวแพทย์ ช่างอาบน้ำ หรือคนแปลกหน้าที่ไม่ใช่สมาชิคในครอบครัวบ้างเป็นครั้งคราว เจ้าสี่ขาจะได้เรียนรู้ที่จะทำความรู้จักกับคนทั่วไปและเป็นมิตรกับทุกๆคนได้นั่นเองค่ะ
5.การออกกำลังกายและทำกิจกรรม
ลูกสุนัขเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตเหมือนเด็กๆเลยค่ะ ช่วงวัยนี้จะชอบเล่นสนุกและมีพลังงานเหลือเฟือ เราควรพาลูกสุนัขออกไปเล่นข้างนอก หรือหาของเล่นเล่นกับเขา เพื่อให้เขาได้ปลดปล่อยพลังงานที่มีอยู่ อีกทั้งการออกไปวิ่งเล่นยังช่วยลดความเครียดในลูกสุนัขได้อีกด้วย ซึ่งถ้าในแต่ละวันพวกเขาได้เล่นอย่างเต็มที่ ก็จะช่วยลดปัญหาพฤติกรรมการกัดของในบ้านที่พบเจอได้บ่อยในลูกสุนัขอีกเช่นกันค่ะ
6.การฝึกให้อยู่บริเวณพื้นที่ ที่กำหนดไว้ ในคอกหรือกรง
คอกของสุนัขควรเป็นที่ที่สงบและสบายสำหรับพวกเขา เป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อน เราไม่ควรใช้คอกหรือกรงเป็นที่ทำโทษสุนัขนะคะ เพราะในเวลาต่อๆไป จะทำให้พวกเขาไม่ชอบอยู่ในคอกขึ้นมาทันที สำหรับลูกสุนัขอายุไม่เกิน 6 เดือน ไม่ควรอยู่ในคอกหรือกรงเกิน 2 ถึง 3 ชั่วโมง ไม่รวมตอนกลางคืนที่เป็นเวลานอน
สินค้าแนะนำของลูกสุนัข
อ้างอิง
- https://www.cesarsway.com/puppy-101-the-ultimate-guide-to-raising-a-puppy/
- https://www.care.com/c/stories/6549/8-tips-for-raising-the-perfect-puppy/
- https://www.hillspet.com/dog-care/new-pet-parent/guide-to-raising-your-puppy
รีวิวทรายแมว แบบฉบับปี 2021 ยี่ห้อไหนน่าโดน
- Post author:tlpadmin
- Post published:7 พฤษภาคม 2021
- Post category:ข่าวสารทั่วไป/ความรู้
การเลือกทรายแมวนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าสับสนสำหรับทาสแมวหลายๆคนใช่มั้ยคะ ไม่ว่าจะเป็นจะเลือกทรายแมวยี่ห้อไหนดี หรือจะเลือกประเภทไหน ซึ่งตอนนี้ในท้องตลาดมีให้เลือกหลากหลายประเภททั้ง ทรายแมวเต้าหู้, ทรายแมวไม้สน หรืออื่นๆ วันนี้ Thonglor pet shop คัดมาให้แล้วยี่ห้อไหนน่าโดน บอกเลยว่าไม่ว่าจะประเภทไหนก็มีข้อดีของตัวเองทั้งนั้นเลยค่ะ
1. ทรายแมวมันสำปะหลัง Dr.Choice
- รีวิวทรายแมวมันสำปะหลัง Dr.Choice Bionature ย่อยสลายง่าย พร้อมมีนวัตกรรมการจับตัวเป็นก้อนได้เร็ว และสามารถตักออกได้ง่าย อีกทั้งยังควบคุมกลิ่นได้ดีเยี่ยม เป็นทรายแมวไม่กี่เจ้าที่ใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลัง หากแมวเผลอทานเข้าไปก็ไม่เป็นอันตรายและยังใช้กับห้องน้ำแมวอัตโนมัติได้อีกด้วย
- ข้อสำคัญคือพัฒนาโดยสัตวแพทย์ของโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ และเป็นทรายแมวที่ใช้จริงในโรงพยาบาลแผนกวอร์ดแมวค่ะ
👉🏻ข้อดีทรายแมวยี่ห้อ Dr.Choice BioNature Tropiosand
- ปราศจากฝุ่น 99.99% ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ 100%
- ไม่ใส่สารเคมีหรือน้ำหอม
- ปลอดภัยต่อลูกแมว
- ใช้กับห้องน้ำแมวอัตโนมัติได้
2. ทรายแมวซังข้าวโพด Kurin Kat
- รีวิวทรายแมวซังข้าวโพด ย่อยสลายได้ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ 100 % ตัวทรายเกิดจากความคิดที่ว่าทรายแมวชนิดเบนโทไนท์แม้ว่าจะใช้งานได้ดี แต่ทางธรรมชาติเมื่อเราทิ้งไปแล้วไม่สามารถย่อยสลายได้นั่นเองค่ะ Kurin Kat เป็นทรายแมวที่ทำจากข้าวโพดที่สายรักษ์โลกไม่ควรพลาดเลย
- ตัวทรายสามารถดูดซับกลิ่นได้ดีเยี่ยม ทิ้งลงชักโครกได้ ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันและฝุ่นน้อย อีกทั้งยังผ่านการวิจัยและทดสอบคุณภาพร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย
ข้อดีทรายแมวยี่ห้อ Kurin Kat
- ดูดกลิ่นแอมโมเนียได้ 84%
- ดูดซับปัสสาวะได้มากกว่า 600%
- ปราศจากกลิ่นรบกวน มั่นใจได้แม้ใช้ในห้องนอน
- แนะนำให้ใช้กับกะบะทรายหรือห้องน้ำแมวปกติมากกว่า ห้องน้ำอัตดนมัติ
ราคา 150 บาท ขนาด 5 ลิตร หรือ ประมาณ 2 kg
3. ทรายแมวหินภูเขาไฟ Odurlock
- ทรายแมวภูเขาไฟเกรดซุปเปอร์พรีเมียมจากประเทศแคนาดา เรียกได้ว่าเป็นทรายที่คนเลี้ยงแมวต้องเคยลองใช้สักครั้งเลยค่ะ เนื่องจากเป็นทรายที่ได้รับผลการโหวตทรายแมวยอดเยี่ยมแห่งปี 2014 จากการโหวดของผู้เลี้ยงแมว
- เป็นทรายปราศจากฝุ่น 99.9% และปลอดภัยต่อสุขภาพของแมวและผู้เลี้ยง สามารถควมคุมกลิ่นได้มากถึง 40 วัน หากเจ้าเหมียวเข้ามาฉี่แล้วเรายังไม่ได้ตักออกทันที ตัวก้อนจะไม่แตกตัว ทำให้เราตักออกได้ง่ายค่ะ อีกทั้งยังทำให้เราประหยัดตัวทรายที่ใช้อีกด้วย
ข้อดีทรายแมวยี่ห้อ Odour Lock
- มีนวัตกรรมดูดซับน้ำได้ถึง 500% มากกว่าทรายปกติถึง 3 เท่า
- ใช้กับห้องน้ำอัตโนมัติได้
- ปลอดภัยต่อระบบทางเดินหายใจทั้งกับผู้ใช้และแมว
4. ทรายแมวเต้าหู้ Soya clump
- ทรายแมวที่ทำจากกากถั่วเหลืองธรรมชาติที่เหลือจากการผลิตนมถั่วเหลือง ซึ่งสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ 100% มาพร้อมกลิ่นหอมอ่อนๆมากถึง 7 กลิ่นให้เลือกด้วยกัน ตัวทรายสามารถทิ้งลงชักโครกได้เลย เป็นอีกหนึ่งยี่ห้อที่ราคาย่อมเยาว์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยค่ะ
- ตัวทรายมีน้ำเบาพิเศษเมื่อเทียบทรายแมวประอื่น อีกทั้งยังมีคุณสมบัติ 99.9%ไร้ฝุ่น เนื้อทรายมีสัมผัสอ่อนโยนทำให้ไม่ระคายเคืองเท้าน้องเหมียวค่ะ
ข้อดีทรายแมวยี่ห้อ Kit Cat SoyaClump
- ปราศจากฝุ่น 99%
- เหมาะสำหรับแมวแพ้ง่าย หรือเจ้าของแมวที่แพ้ง่าย
- ปลอดภัยสำหรับแมวที่ชอบกินทราย
ราคา 220 บาท ขนาด 7 ลิตร หรือ ประมาน 2.5 kg >>สั่งซื้อคลิ๊ก<<
5.ทรายแมวไม้สน Cat’s Best Sensitive
- อีกหนึ่งยี่ห้อทรายแมวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นทรายแมวไม้สนที่นำเข้าจากประเทศเยอรมัน ตัวทรายสามารถย่อยสลายได้ 100% และสามารถาซับของเหลวได้มากกว่าน้ำหนักของตัวเองถึง 7 เท่า
- ตัวสินค้าจะมีอยู่ 3 สูตรหลัก คือ Original, Smart pallet และ Sensitive ซึ่งจะต่างกันที่เนื้อสัมผัสของทรายค่ะ โดยสูตร Sensitive นี้ จะเหมาะสำหรับแมวทุกสายพันธุ์ (โดยเฉพาะแมวป่วย/หลังผ่าตัด/แมวที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ)
- เห็นทำจากไม้สนแบบนี้แต่เขาไม่ได้โค่นต้นไม้เพื่อมาทำทรายแมวนะคะ แต่เขาใช้ เศษไม้ที่เหลือจากอุตสหกรรม ซึ่งเขาได้ PEFC certificate ที่รับรองว่าการใช้ไม้สนครั้งนี้ ถูกใช้อย่างยั่งยืนและไม่ส่งผลกระทบกับธรรมชาติของผืนป่าไม้นั่นเอง
ข้อดีทรายแมวยี่ห้อ Cat’s Best
- เม็ดละเอียด นุ่มเท้า จับตัวเป็นก้อนไร้เชื้อรา
- เก็บกลิ่นได้ดี สามารถทิ้งลงสุขภัณฑ์ภายในบ้าน
- สามารถใช้กับห้องน้ำอัตโนมัติได้
สูตร Sensitive ราคา 450 บาท ขนาด 2.9 kg หรือ 8L >>สั่งซื้อคลิ๊ก<<
6. ทรายแมวเต้าหู้ Cature
- รีวิวทรายแมวเต้าหู้ Cature เป้นทรายแมวระดับ Food grade ที่ปลอดภัยกับแมวทุกช่วงวัย โดยทางแบรนด์ใส่ใจในขั้นตอนผลิตแบบเม็ดต่อเม็ด เพื่อให้มั่นใจว่าเม็ดทรายจะมีขนาดโดยประมาน 2มิลลิเมตร ตัวเนื้อทรายสามารถจับตัวเป็นก่อนได้ดี สามารถทิ้งลงชักโครกได้ และเป็นอีกยี่ห้อหนึ่งที่ย่อยสลายได้ 100% ตามธรรมชาติ
- โดยเนื้อทรายสามารถซับของเหลวได้มากกว่าน้ำหนักของตัวเองถึง 400% และยังมีคุณสมบัติไร้ฝุ่นถึง 99.5% อีกทั้งเนื้อทรายยังมีสัมผัสนุ่ม ไม่ติดอุ้งเท่าเจ้าเหมียว และยังไม่ระคายเคืองอีกด้วย โดยทรายเต้าหู้นี้มี 2 กลิ่นด้วยกันคือกลิ่นชาเขียวและกลิ่นข้าวโพด
👉🏻 ข้อดีทรายแมวยี่ห้อ Cature tofu cat Litter
- ทรายแมวระดับ Food grade หากเผลอทานเข้าไปก็ไม่เป็นอันตราย
- เนื้อทรายไม่ติดอุ้งเท่า
- ทิ้งลงชัดโครกได้ และ แนะนำให้ใช้กับกะบะหรือห้องน้ำแมวปกติ
ราคา 269 บาท ขนาด 6 ลิตร หรือ ประมาน 2.5 kg >>สั่งซื้อคลิ๊ก<<
7. ทรายแมวผลิตจากดินธรรมชาติ Biokat
- ทรายแมวไม่กี่ยี่ห้อในประเทศไทยที่ผลิตจากดินธรรมชาติ รุ่นนี้เป็นรุ่นพิเศษที่ผสมผงคาร์บอนลงไปด้วย ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บกลิ่น โดยผงคาร์บอนนี้ทำมาจากเปลือกของมะพร้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ทำจากธรรมชาติและนำกลับไปใช้ใหม่ได้ และหากพูดถึงเรื่องการจับตัวเป็นก้อนต้องยกให้ยี่ห้อ Biokat เลยค่ะ เราสามารถตักทรายออกได้ง่ายๆเลย
- ตัวเม็ดทรายจะเป็นสีขาว ซึ่งจะทำให้เจ้าของสังเกตเห็นสุขภาพเบื้องต้นของน้องเหมียวได้ หาเพราะทรายสีขาวอ่อนจะทำให้เราสังเกตเห็นสีของปัสสาวะของน้องได้นั่นเองค่ะ
👉🏻 ข้อดีทรายแมวยี่ห้อ Cature tofu cat Litter
- ผสมผงคาร์บอนช่วยเรื่องกลิ่นเป็นพิเศ
- ผลิตจากดินธรรมชาติเนื้อสีขาวอ่อน
- ทิ้งลงชัดโครกไม่ได้ และ แนะนำให้ใช้กับกะบะหรือห้องน้ำแมวปกติ
สินค้าห้องน้ำและทรายแมว
Covid-19 และสัตว์เลี้ยงของเรา
- Post author:admintlp
- Post published:29 เมษายน 2021
- Post category:ข่าวสารทั่วไป/ความรู้
เรื่องของ Covid-19 และสัตว์เลี้ยงของเรา
เป็นที่น่ากังวลกับเจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายๆบ้านว่าเชื้อ Covid-19 จะส่งผลกระทบเรากับสัตว์เลี้ยงอย่างไรบ้าง อีกทั้งถ้าเราป่วยเป็น Covid-19 เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรกับสัตว์เลี้ยง และใครจะดูแลพวกเขาเมื่อเราต้องกักตัวในสถานการ์ณการระบาดนี้ ไปหาคำตอบในบทความนี้กันค่ะ
สัตว์เลี้ยงของเราสามารถเป็น Covid-19 หรือไม่?
ตอนนี้ข่าวดีคือ Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC จากสหรัฐอเมริกายังไม่พบการรายงานว่ามีสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ประเภทอื่นสามารถได้รับเชื้อ Covid-19 อีกทั้ง CDC และ WHO (World Health Organization) ยังมีความเห็นร่วมกันว่า ยังไม่มีปัจจัยหรือหลักฐานอะไรที่บ่งบอกได้ว่าสัตว์เลี้ยงของเราสามารถรับเชื้อและแพร่กระจายเชื้อได้ เรายังต้องศึกษาอีกมากเพื่อทำความเข้าใจว่าเชื้อ Covid-19 จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อสัตว์เลี้ยงของเราได้บ้าง
การแพร่กระจายของเชื้อ Covid-19 จากสัตว์เลี้ยงสู่คนนั้น มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ อีกทั้งสัตว์เลี้ยงไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญใดๆในการแพร่เชื้อ Covid-19 ซึ่งเรายังไม่พบเคสหรือหลักฐานใดๆว่าไวรัสสามารถแพร่จากคนสู่สัตว์เลี้ยง หรือแพร่จากผิวหนังหรือขนของสัตว์เลี้ยงด้วยกันเองได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสัตว์เลี้ยงก็มีเชื้อโรคอื่นๆที่สามารถทำให้เราไม่สบายได้ โดยเฉพาะสมาชิกในบ้านที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือเป็นเด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีโอกาสไม่สบายได้ง่าย ดังนั้นการรักษาความสะอาดอย่างเป็นประจำจึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง
2. ระวังไว้ก่อนดีที่สุด
เนื่องจากเรายังมีข้อมูลเกี่ยวกับ Covid-19 ที่ค่อนข้างจำกัด การป้องกันสัตว์เลี้ยงจาก Covid-19 จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งสามารถทำได้โดย
- หลีกเลี่ยงพื้นที่สาธารณะที่คนหรือสัตว์เลี้ยงรวมตัวกัน
- เมื่อพาสุนัขออกไปเดินเล่นควรรักษาระยะห่างจากสุนัขตัวอื่นและเจ้าของท่านอื่นๆ
- หากเป็นน้องเหมียว ให้อยู่ในบ้านจะปลอดภัยที่สุด เนื่องจากน้องเหมียวบางบ้านอาจมีพฤติกรรมที่ไม่ชอบออกนอกบ้านอยู่แล้ว ดังนั้นการอยู่บ้านก็เป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ดีค่ะ
ในขณะที่เราอยู่บ้านมากขึ้นอาจเป็นเรื่องชอบใจของเจ้าสัตว์เลี้ยงเพราะเราจะมีเวลาให้พวกเขามากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันกิจวัตรประจำวันของสัตว์เลี้ยงอาจลดลง เจ้าของสามารถหาของเล่นใหม่ๆเพื่อกระชับความสัมพันธ์ อีกทั้งยังเป็นการฝึกพัฒนาการสมองของสัตว์เลี้ยง หรืออาจลองฝึก trick ใหม่ๆให้พวกเขา ก็เป็นการ upskill สัตว์เลี้ยงของเราเช่นกันค่ะ
3. ข้อควรปฎิบัติเมื่อเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงการสัมผัสเชื้อ Covid-19
- คุณสามารถดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณได้ปกติ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแบบใกล้ชิดเช่น การจูบ หรือการเลียมือ และไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงนอนในห้องหรือเตียงเดียวกัน อีกทั้งควรสวมหน้ากากอนามัยและถุงมือตลอดเมื่อคุณมีความจำเป็นต้องสัมผัสตัวสัตว์เลี้ยง คุณควรทำการล้างมือทุกครั้ง ก่อนและหลังที่จับตัวสัตว์เลี้ยง
- หากเป็นไปได้ ให้สมาชิกในบ้านดูแลสัตว์เลี้ยงไปก่อน แต่ยังคงให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสแบบใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง ผู้ดูแลควรทำการล้างมือทุกครั้ง ก่อนและหลังที่จับตัวสัตว์เลี้ยง อีกทั้งรักษาระยะห่างจากผู้มีความเสี่ยงสูงอย่างเคร่งครัด หรือ เรายังสามารถจัดสรรบริเวณให้สัตว์เลี้ยงอยู่โดยการใช้คอกกั้นพื้นที่ เพื่อรักษาระยะห่าง
- หากสัตว์เลี้ยงป่วยรุนแรงให้โทรติดต่อโรงพยาบาลสัตว์ทันที โดยเจ้าของแจ้งให้ทางโรงพยาบาลทราบล่วงหน้า ว่าเจ้าของเป็นกลุ่มเสี่ยงติด Covid-19 ทางโรงพยาบาลอาจให้คำแนะทางโทรศัพท์หากพิจรณาแล้วว่าไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาล แต่ถ้าสัตว์เลี้ยงมีอาการป่วยอย่างรุนแรงทางโรงพยาบาลอาจส่งบุคคลากรที่มีความพร้อมไปนำสัตว์เลี้ยงมาเข้ารับการรักษา โดยแต่ละโรงพยาบาลจะมีมาตราการความปลอดภัยการนำส่งสัตว์เลี้ยง
- เจ้าของสามารถให้ญาติหรือเพื่อนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงพาสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาลแทนได้ โดยผู้นำมาต้องสวมใส่ชุดป้องกันอย่างเคร่งครัดทั้งถุงมือและหน้ากากอนามัย
ห้ามทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์” หากอยากทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงให้ใช้วิธีการอาบน้ำด้วยแชมพูตามปกติ
4. ทำอย่างไรเมื่อเราป่วยเป็น Covid-19?
- ในกรณีที่คุณเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงคนเดียว ให้โทรติดต่อโรงพยาบาลสัตว์ที่สามารถรับฝากดูแลสัตว์เลี้ยงได้ในกรณีที่ท่านต้องเข้าพักษาตัวที่โรงพยาบาล อย่าเพิ่งพาพวกเขาไปด้วยตัวเอง โทรติดต่อโรงพยาบาลสัตว์ที่สามารถรับฝากดูแลสัตว์เลี้ยงได้ในกรณีที่ท่านต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยทางโรงพยาบาลสัตว์จะมีมาตราการเคร่งครัดสำหรับการดูแลสัตว์เลี้ยงในกรณีนี้ให้มีความปลอดภัยที่สุด โดยเจ้าของต้องแจ้งทางโรงพยาบาลว่าตัวเองป่วยเป็น Covid-19
- หากเป็นไปได้ ให้สมาชิกในบ้านดูแลสัตว์เลี้ยงไปก่อนตอนที่คุณไม่สบาย แต่ยังคงให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสแบบใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง เช่นการจูบ หรือการเลียมือ และไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงนอนในห้องหรือเตียงเดียวกันกับผู้ดูแลเป็นระยะเวลา 14 วัน
- หากสัตว์เลี้ยงมีความจำเป็นที่ต้องพบสัตวแพทย์ สามารถให้เพื่อนหรือญาติที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรค Covid-19 นำสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาลสัตว์ได้โดยจำเป็นต้องแจ้งทางโรงพยาบาลให้รับทราบก่อนล่วงหน้า และผู้ที่นำสัตว์เลี้ยงมาต้องสวมเครื่องป้องกันที่หมาะสม ได้แก่ ถุงมือและหน้ากากอนามัย
*ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าสัตว์เลี้ยงสามารถแพร่โรค Covid-19 สู่คนได้ เจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงควรทำตามคำแนะนำ และไม่ควรทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ที่บ้านคนเดียวนะคะ**
อ้างอิง:
- https://www.freeportvet.com/services/other/blog/how-survive-covid-19-quarantine-your-pet
- https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/daily-life-coping/pets.html
- https://www.rivm.nl/en/novel-coronavirus-covid-19/pets
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/expert-answers/can-pets-get-coronavirus/faq-20486391
- สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย (VPAT)
สุนัขจำเป็นต้องแปรงฟันนะรู้ยัง? วิธีแปรงฟันหมา
ใครจะไปคิดว่าน้องหมานั้นก็ต้องแปรงฟันและดูแลช่องปากเหมือนคนเรานี่แหละค่ะ รู้หรือไม่ว่า 2 ใน 3 ของสุนัขที่มีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไปมีโรคเยื่อปริทันต์ หรือ โรคเหงือกอักเสบนั่นเองค่ะ ซึ่งถ้าปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะทำให้สุนัขของเราสูญเสีญฟันของเขา อีกทั้งยังส่งผลถึงเรื่องกลิ่นปากอีกด้วย ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้ง่ายๆด้วยการแปรงฟันสุนัขอย่างเป็นประจำค่ะ
เราควรเริ่มแปรงฟันหมาตอนอายุเท่าไหร่
สามารถเริ่มฝึกได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมเริ่มงอกหรือ 2 เดือนขึ้นไป หากเริ่มตั้งแต่เด็กก็จะเป็นการฝึกให้สุนัขคุ้นชินกับการแปรงฟันและทำให้เราทำความสะอาดฟันของเขาได้ง่ายขึ้นในอนาคตค่ะ
ยาสีฟันและแปรงสีฟันสุนัขที่ควรใช้
- ยาสีฟัน – ห้ามใช้ยาสีฟันคนกับสุนัขเด็ดขาด เพราะยาสีฟันคนมีส่วนผสมบางอย่างที่สุนัขไม่ควรกลืนเข้าไป อีกทั้งอาจมีปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไปสำหรับสุนัข เราควรใช้ยาสีฟันของสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ ซึ่งยาสีฟันจะมีมีการเพิ่มกลิ่นที่น้องหมาเราชื่นชอบ เช่นกลิ่นเนื้อ โดยน้องหมาสามารถกลืนเข้าไปได้ โดยไม่เป็นอันตรายใดๆค่ะ
- แปรงสีฟัน – แปรงสีฟันที่ออกแบบมาเพื่อสัตว์เลี้ยงมีหลายแบบ ทั้งที่เป็นปลอกสวมนิ้วและเป็นแปรงหัวตัดทรงต่างๆ โดยส่วนใหญ่แล้วออกแบบมาเพื่อให้ทรงเข้าพอดีกับช่องปากของสุนัข ทั้งสุนัขพันธุ์เล็กและพันธุ์ใหญ่ เจ้าของสามารถเลือกแปรงที่ตัวเองสามารถจับได้ถนัดมือได้เลยค่ะ
เป็นเจ้าของต้องอดทน เราจะเริ่มอย่างไร
- เริ่มแปรงฟันสุนัขโดยเริ่มใช้นิ้วถูที่ฟันซึ่งเป็นการฝึกให้เขารับรู้ถึงความรู้สึกตอนแปรง แล้วจึงเริ่มขยับมาใช้ผ้าก็อซถูฟัน ในขั้นตอนนี้เราสามารถใช้ยาสีฟันป้ายไปที่ผ้าเล็กน้อยเพื่อให้น้องหมาเริ่มชิมยาสีฟัน
- เมื่อสุนัขเริ่มชินก็ให้ใช้แปรงสีฟันเริ่มแปรงฟันสุนัขได้เลย โดยเราควรแปรงฟันข้างละประมาณ 30 วินาที และแน่นอนว่าน้องหมาจะต่อต้านการแปรงฟัน แต่เราต้องอดทนและฝึกให้เขาทำเป็นกิจวัตรนะคะ เมื่อเวลาผ่านไปเขาจะค่อยๆเริ่มชินไปเองค่ะ
ให้รางวัล
ทุกครั้งที่แปรงฟันสำเร็จให้รางวัลด้วยการลูบหัว ชม หรือให้ขนมด้วยก็ได้ เพื่อให้น้องหมารู้สึกว่าการยอมแปรงฟันน่ะเป็นสิ่งที่ดีแล้ว ทั้งนี้ขนมขัดฟันที่ออกแบบมาลดคราบหินปูนและกลิ่นปากก็มีเช่นกัน เจ้าของสามารถให้น้องทานควบคู่ไปกับการแปรงฟัน ก็จะช่วยให้เรารักษาสุขภาพฟันที่ดีให้กับสุนัขได้ค่ะ
หากใครยังมีข้อสงสัยเรื่องสุขภาพปากและช่องฟันของสุนัขก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะคะ บ้านไหนน้องหมามีอายุมากแล้วและมีคราบหินปูนสะสมที่ฟันเป็นจำนวนมาก โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อของเราก็มีบริการขูดหินปูนให้ด้วยนะคะ โดยเรามีบริการปรึกษากับสัตว์แพทย์ออนไลน์ได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย
สินค้าดูแลช่องปากและฟัน
อ้างอิง: https://vcahospitals.com/know-your-pet/brushing-teeth-in-dogs
วิธีให้อาหารลูกแมว เลี้ยงแมวแบบฉบับของโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
บ้านไหนพึ่งรับลูกแมวใหม่มาบ้างคะ? ต้องขอบอกเลยว่าการเลี้ยงลูกแมวนั้นอาจมีความยากอยู่เล็กน้อย เนื่องจากลูกแมวต้องการความดูแลเป็นพิเศษนั่นเองค่ะ ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีเลี้ยงลูกแมว ตั้งแต่แรกเกิด จนไปถึง 10 เดือน ฉบับย่อกันค่ะ
-
การให้อาหารลูกแมว
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าหนี่งในวิธีเลี้ยงลูกแมวที่สำคัญที่สุดคือการป้อนนมหรืออาหารลูกแมวค่ะ การเลือกอาหารที่เป็นสูตรลูกแมวโดยเฉพาะจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะลูกแมวต่างจากแมวโตตรงที่ ลูกแมวมีความต้องการโปรตีนและกรดอมิโนมากกว่าแมวโตหลายเท่า เพราะวัยลูกแมวเป็นช่วงเวลาที่แมวเติบโตเร็วที่สุดและเป็นวัยที่ต้องการพลังงานมากเป็นพิเศษ โดยในแต่ละช่วงวัย อาหารที่ควรทานจะต่างกันออกไปดังนี้
อาหารลูกแมวพึ่งเกิด – 4 อาทิตย์ ลูกแมวควรได้รับการป้อนนมทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หากนมแม่แมวไม่พอเราสามารถให้นมทดแทนได้เช่น PetAg KMR โดยปริมาณที่ควรให้สามารถดูได้ตามลิงค์นี้ หลังป้อนนมลูกแมว เราควรสังเกตว่าลูกแมวหลับสบายไหม หากหลังดื่มนมลูกแมวมีอาการดิ้นไปมา หรือคลานตลอดเวลา ให้สงสัยว่าลูกแมวมีอาการท้องอืด และจุดนี้เจ้าของควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะอาการท้องอืดในลูกแมวอาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ หรือบางครั้งหากลูกแมวดูดนมจากแม่ เราควรเช็คว่ามีน้ำนมออกมาจากเต้าแม่แมวจริงๆ เพราะบางครั้งเต้านมไม่มีนมมากพอ เวลาลูกแมวดูดนมจะมีลมซึ่งส่งผลให้มีอาการท้องอืดได้เช่นกันค่ะ
อาหารลูกแมว 4 สัปดาห์ – 6 สัปดาห์ ช่วงนี้เป็นวัยที่ลูกแมวกำลังจะหย่านม เราสามารถเริ่มให้อาหารแบบเปียกสูตรลูกแมวได้ ซึงเนื้ออาหารแบบเปียกก็จะช่วยให้ลูกแมวเริ่มฝึกเคี้ยวด้วยค่ะ หรือหากแม่แมวยังมีน้ำนมอยู่ เราก็ยังสามารถให้ลูกแมวดูดน้ำนมแม่ สลับกับอาหารเปียกได้เช่นกัน โดยการให้อาหารลูกแมวควรแบ่งเป็นมื้อเล็กๆเนื่องจากลูกแมวมีกระเพาะที่เล็ก แต่มีความต้องการพลังงานสูงนั่นเอง
อาหารลูกแมวอายุ 6 สัปดาห์ – 8 สัปดาห์ ฟันของลูกแมวจะเริ่มขึ้นในช่วงวัยนี้ เราควรเริ่มให้อาหารสูตรลูกแมวแบบเม็ด โดยแช่อาหารเม็ดในน้ำอุ่นสะอาด เพื่อให้อาหารมีเนิ้อนิ่มเล็กน้อย ง่ายแก่การเคี้ยวของลูกแมวและควรแบ่งทานมื้อเล็กๆ ประมานวันละ 6 มื้อ โดยปริมาณที่ควรทานต่อมื้อควรปรึกษาสัตวแพทย์ แต่โดยปกติแล้ว มื้อละประมาน 10 เม็ดก็เพียงพอค่ะ
อาหารลูกแมวอายุ 8 สัปดาห์ – 10 เดือน ช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกจะเป็นช่วงที่ลูกแมวเติบโตเร็วที่สุดในช่วงชีวิตของเขา เราสามารถเริ่มปรับลดมื้ออาหารลง โดยเหลือประมาน 3 มื้อต่อวัน และอาหารยังคงต้องเป็นสูตรลูกแมวอยู่ โดยสามารถกินแบบเม็ดไม่ต้องผสมน้ำได้แล้วค่ะ เมื่อน้องแมวอายุเกิน 10 เดือนแล้วจะถือว่าเป็นแมวโต ไม่ใช่ลูกแมวแล้วนั่นเอง
2. การฝึกลูกแมวให้ขับถ่าย
ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 สัปดาห์ ถ้าแม่แมวมีพฤติกรรมที่ไม่ยอมเลี้ยงลูกแมว เราควรกระตุ้นการขับถ่ายของลูกแมวโดย ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นและสัมผัสบริเวณก้นและอวัยวะเพศของลูกแมว อย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกแมวขับถ่ายได้
เมื่อลูกแมวอายุ 6 สัปดาห์ ก็สามารถเริ่มฝึกใช้ทรายแมวได้แล้ว เจ้าของสามารถวางกระบะทรายตรงบริเวณที่อยากให้เขาขับถ่าย แต่ข้อควรระวังในระยะแรกคือ ลูกแมวอาจกินทรายแมวเข้าไปได้ เจ้าของควรเฝ้าดูพฤติกรรมในระยะแรกๆที่เริ่มใช้ทรายแมวนะคะ หรือเลือกใช้ทรายแมวที่ทำจากพืชธรรมชาติเช่น ทรายแมวมันสำปะลัง ก็จะไม่เป็นอันตรายกับลูกแมวค่ะ
Tips: ควรทำให้ทรายแมวมีกลิ่นฉี่ของเขาก่อน โดยสามารถบิดสำลีที่มีปัสสาวะของเจ้าเหมียวลงบนทราย เพื่อให้เขาคุ้นชินกับกลิ่นมากขึ้น
3. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสิ่งที่ควรทำ
การเข้าสังคม-ควรฝึกให้แมวเข้าสังคมทั้งกับแมวตัวอื่นและบุคคลในบ้าน โดยควรเริ่มตอนอายุ 3 สัปดาห์ – 9 สัปดาห์ เจ้าของอาจพาไปเจอสัตวแพทย์ หรือช่างอาบน้ำใกล้บ้าน เพื่อสร้างประสบการ์ณใหม่ๆให้ลูกแมว คุ้นชินกับการเจอสิ่งใหม่ๆค่ะ
การเล่นกับลูกแมว – ให้ใช้ของเล่นเล่นกับแมว โดยห้ามใช้มือของเราเล่นกับลูกแมวนะคะ เราไม่ควรยอมให้เขากัดมือเราจนเป็นนิสัย เพราะจะเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมรุนแรงกับสมาชิคในครอบครัวค่ะ ซึ่งพฤติกรรมรุนแรงนี้จะทำให้การพบแพทย์, ช่างอาบน้ำ หรือบุคคลอื่นๆ เป็นเรื่องยากสำหรับเจ้าเหมียวนั่นเองค่ะ
- การฝนเล็บ- เมื่อน้องแมวโตขึ้น อาจมีพฤติกรรมฝนเล็บ โดยพฤติกรรมนี้เป็นธรรมชาติของแมวอยู่แล้ว ซึ่งบริเวณอุ้งเท้าของแมวจะมีต่อมกลิ่นซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของแมวแต่ละตัว การที่น้องแมวได้ฝนเล็บลงไปบนสิ่งของก็เสมือนได้ปล่อยกลิ่นของตัวเองไว้ตรงตำแหน่งนั้นด้วย เจ้าของควรเตรียมที่ฝนเล็บเอาไว้ เพื่อไม่ให้เขาไปฝนเล็บบนเฟอร์นิเจอร์ในบ้านของเราค่ะ
สินค้าแนะนำของลูกแมว
อ้างอิง:
- https://be.chewy.com/7-things-to-do-when-raising-a-kitten/
- https://be.chewy.com/how-much-to-feed-your-kitten/
- https://pets.webmd.com/cats/guide/feeding-your-kitten-food-and-treats#2
- https://vcahospitals.com/know-your-pet/kitten-raising-kittens
ว่าด้วยเรื่องหมาอ้วน กับการลดน้ำหนักในสุนัข
สุนัขมากกว่า 50% ในอเมริกาได้รับผลกระทบจากการเป็นโรคอ้วน ซึ่งไม่ต่างจากมนุษนย์เรานะคะ โรคอ้วนในน้องหมาสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ในหลายๆด้าน เช่น โรคหัวใจ หรือ ปัญหาทางข้อกระดูก หรือบางรายอาจมีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย
การเลือกทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมและการทำกิจกรรมออกกำลังกายต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการให้น้องหมาอ้วนกลับมามีหุ่นดีและร่าเริงเหมือนเดิมค่ะ
1.สุนัขของเรามีน้ำหนักเกินมาตราฐานหรือไม่ ?
- เบื้องต้นเราสามารถสังเกตสุนัขของเราโดยการดูจากรูปร่างของน้องค่ะ เจ้าของสามารถวางมือลงตรงบริเวญซี่โครงของน้องและคลำตรงบริเวณนั้น ถ้าเราคลำแล้วไม่เจอกระดูกซี่โครงของน้องเลย ก็เป็นสัญญาณนึงที่บอกเราแล้วว่าน้องเริ่มอ้วนแล้วนั่นเอง
หรือเจ้าของสามารถเช็ครูปร่างของสุนัขได้ง่ายๆจากตารางด้านล่าง ลักษณะรูปร่างจะสามารถบอก Body fat Index และ ไขมันในร่างกายได้คร่าวๆ ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าน้องหมาของเรานั้นอ้วนอยู่ในระดับไหนค่ะ
คลิ๊กดูรูปเต็ม>> http://bit.ly/2Opiayb
Source : Hill’s Pet Nutrition (Thailand) Co.,Ltd.
- ความอ้วนเกิดจากอะไรได้บ้าง?
- การทำหมัน: สุนัขที่ทำหมันแล้วจะต้องการพลังงานต่อวันลดลง ดังนั้นเราอาจลืมลดปริมาณอาหารของน้องที่ทำหมันแล้ว ทำให้น้องหมาอ้วนขึ้นนั่นเอง
- ปริมาณอาหารที่เยอะเกินไปต่อมื้อ: การที่เราเทอาหารใส่ชามทิ้งเอาไว้เป็นจำนวนมาก หรือ เทเอาไว้เผื่อน้องหิว ส่งผลให้หมาที่บ้านทานเยอะเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ เช่นการไม่ออกกำลังกาย ไม่ได้ออกไปเดินเล่นข้างนอก หรือ บางบ้านทานอาหารของคนเยอะเกินไป
- ก่อนที่จะวางแผนลดน้ำหนักสุนัข ต้องปรึกษาสัตวแพทย์หรือไม่?
เมื่อเราตัดสินใจที่จะลดน้ำหนักสุนัขแล้ว เราควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนเสมอ ซึ่งสัตวแพทย์จะประเมินน้ำหนักที่เหมาะสมของสุนัข รวมถึงสูตรอาหารลดน้ำหนักสุนัขที่ควรทาน สำหรับสุนัขสัตวแพทย์อาจมีการแนะนำให้ออกกำลังกายเพิ่มเติม เช่นการว่ายน้ำ อีกทั้งในกรณีที่น้องอ้วนมากๆอาจมีการตรวจสุขภาพเช่น การตรวจเลือด หรือ ปัสสาวะร่วมด้วยค่ะ
ตอนนี้โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อมี ปรึกษากับสัตวแพทย์ออนไลน์ สำหรับคนที่อยากปรึกษาแพทย์สามารถ >>คลิ๊ก<< ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
- การควบคุมอาหาร
จากที่เล่ามาดูเหมือนว่าอาหารจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หมาอ้วน ซึ่งไม่ต่างจากคนเลยใช่ไหมคะ? ดังนั้นการลดปริมาณอาหาร อาจเป็นสิ่งแรกๆที่เราคิดว่าควรทำ แต่เดี๋ยวก่อน! การลดปริมาณอาหารอย่างรวดเร็วสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพน้องหมา เช่นขาดสารอาหารที่จำเป็น หรือ ภาวะความเครียดได้
เราควรค่อยๆลดน้ำหนักโดยการเปลี่ยนสูตรอาหาร เป็นสูตรลดน้ำหนักโดยเฉพาะที่แนะนำโดยสัตวแพทย์ โดยอาหารสูตรเหล่านี้จะมีแคลลอรี่ที่เหมาะสม แต่สารอาหารยังครบถ้วนตามที่น้องหมาต้องการนั่นเองค่ะ
เจ้าของควรมาปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนตัดสินใจลดน้ำหนัก เพื่อให้กระบวนการเป็นไปย่างปลอดภัยที่สุด!
ว่าด้วยเรื่องแมวอ้วน การลดน้ำหนักในแมว
- Post author:adminpetshop
- Post published:5 กุมภาพันธ์ 2021
- Post category:ความรู้
รู้หรือไม่ 90% ของสัตว์เลี้ยงไม่รู้ว่าพวกเขาน้ำหนักเกิน เรามาเช็คกันเถอะว่าน้องเหมียวของเราที่บ้านมีน้ำหนักเกินมตราฐานไหมนะ? และความอ้วนนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพของพวกเขาอย่างไรบ้าง มาหาคำตอบกันค่ะ
- แมวของเรามีน้ำหนักเกินหรือไม่?
- เบื้องต้นเราสามารถสังเกตน้องแมวของเราโดยการดูจากรูปร่างของน้องค่ะ เจ้าของสามารถวางมือลงตรงบริเวญซี่โครงของน้องและคลำตรงบริเวณนั้น ถ้าเราคลำแล้วไม่เจอกระดูกซี่โครงของน้องเลย ก็เป็นสัญญาณนึงที่บอกเราแล้วว่าน้องเริ่มอ้วนแล้วนั่นเอง
หรือเจ้าของสามารถเช็ครูปร่างของแมวได้ง่ายๆจากตารางด้านล่าง ลักษณะรูปร่างจะสามารถบอก Body Fat Index หรือ เปอร์เซ็นการสะสมของไขมันในร่างกายได้คร่าวๆ ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าน้องแมวของเรานั้นอ้วนอยู่ในระดับไหน ซึ่งคุณหมอจะใช้ในการคำนวณหาน้ำหนักตัวที่เหมาะสมให้กับน้องๆนั่นเองค่ะ
2. ความอ้วนส่งผลอย่างไรของน้องแมวที่บ้านเราบ้าง?
- ปัญหาผิวหนัง อย่างที่เราทราบกันว่าแมวจะทำความสะอาดตัวเองด้วยการเลียขน โดยแมวที่อ้วนจะทำความสะอาดตัวเองได้ยากขึ้น ซึ่งทำให้มีโอหาสมีปัญหาผิวหนังได้
- ภาวะซึมเศร้า ความอ้วนทำให้แมวขยับตัวได้ยากขึ้น พวกเขาจะไม่สามารถเล่น หรือตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมได้ดีเหมือนเมื่อก่อน หรือ ไม่สามารถทำตามสัญชาตญาณได้ดีเท่าที่ควร ทำให้เขาพวกอาจเกิดอาหารเครียดหรือซึมเศร้าค่ะ
- โรคเบาหวาน เหมือนอย่างคนเราความอ้วนก็ทำให้เจ้าแมวที่รักเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน บ่อยๆครั้งอาการของโรคเบาหวานก็จะดีขึ้นเมื่อน้ำหนักของแมวลดลง
3. ก่อนที่จะวางแผนลดน้ำหนักแมว ต้องปรึกษาสัตวแพทย์หรือไม่?
เมื่อเราตัดสินใจที่จะลดน้ำหนักแมวแล้ว เราควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนเสมอ ซึ่งสัตวแพทย์จะประเมินน้ำหนักที่เหมาะสมของแมว รวมถึงสูตรอาหารลดน้ำหนักแมวที่ควรทาน อีกทั้งในกรณีที่น้องอ้วนมากๆอาจมีการตรวจสุขภาพเช่น การตรวจเลือด หรือ ปัสสาวะร่วมด้วยค่ะ
ตอนนี้โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อมี ปรึกษากับสัตวแพทย์ออนไลน์ สำหรับคนที่อยากปรึกษาแพทย์สามารถ >>คลิ๊ก<< ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
4. การควบคุมอาหาร
การลดปริมานอาหารของแมวดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ควรทำสำหรับการลดน้ำหนัก แต่เดี๋ยวก่อน! การลดปริมาณอาหารอย่างรวดเร็วสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพน้องแมวได้เช่นกัน แมวอาจมีอาการเครียดจากความหิว ซึ่งในกรณีที่รุนแรงมากอาจทำให้เกิดโรคตับได้
เราควรค่อยๆลดน้ำหนักของแมวโดยให้อาหารสูตรควบคุมน้ำหนักที่แนะนำโดยสัตวแพทย์ เพื่อให้การลดน้ำหนักเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยที่สุด เจ้าของควรมาปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนเลือกอาหารลดน้ำหนักให้น้องเหมียวค่ะ
แมวคิดอย่างไรกับมนุษย์? เราตกเป็นทาสจริงๆแล้วใช่ไหมนะ
- Post author:adminpetshop
- Post published:18 มกราคม 2021
- Post category:ความรู้
อ่านแล้วจะตกใจ! แมวคิดแบบนี้กับเราจริง ๆ หรอ?
เมื่อประมาณ 9,500 ปีที่แล้ว แมวได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ครั้งแรก ตั้งแต่นั้นมนุษย์กับแมวก็มอบความรักให้กันเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับแมวเจ้านายที่น่ารักของเรา รวมถึงสิ่งที่พวกเขาคิดเกี่ยวกับเราด้วย วันนี้ทองหล่อเพ็ทช็อปจะพาไปดูกันค่ะ ว่าจริง ๆ แล้วแมวคิดกับมนุษย์อย่างไรกันแน่…
John Bradshaw ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมแมวจาก University of Bristol ได้สังเกตพฤติกรรมแมวมาหลายปี เขาได้ข้อสรุปที่น่าสนใจว่า แมวไม่เข้าใจเราเหมือนแบบที่สุนัขเข้าใจ
แมวปฏิบัติกับคน เหมือนที่แมวปฏิบัติกับแมวด้วยกันเอง
มีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับสุนัขและวิธีที่สุนัขปฏิบัติกับคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุนัขมองว่าคนแตกต่างจากตัวเขาเอง และทันทีที่พวกเขาเห็นมนุษย์พวกเขาจะเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะวิธีที่สุนัขเล่นกับมนุษย์นั้น แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับวิธีที่พวกเขาเล่นกันเอง
อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีการค้นพบว่าแมวทำตัวแตกต่างจากเดิมเมื่อพวกเขาเข้าสังคมกับเรา แต่แมวรู้แน่ ๆ ว่าพวกเราตัวใหญ่กว่าพวกเขา แต่ดูเหมือนขนาดที่ใหญ่กว่าของคนจะไม่ได้ทำให้พฤติกรรมแมวเปลี่ยนไปมากนัก เช่น การเอาหางถูรอบ ๆ ขาของเราหรือนั่งข้างเรา ก็เป็นสิ่งที่แมวปฏิบัติต่อกันเป็นปกติอยู่แล้ว
แมวปฏิบัติตัวกับเราเหมือนที่ปฏิบัติกับแมวตัวอื่น ๆ เนื่องจากพวกเขาแยกไม่ออกว่าควรจะปฏิบัติตัวกับคนอย่างไร พวกเขาอาจคิดว่าเราเงอะงะด้วยซ้ำ! และมีแมวบางตัวที่คิดว่าตัวเองเหนือกว่าคน อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้คิดว่าเราโง่ เพราะแมวจะไม่ถูตัวกับแมวที่ด้อยกว่าตัวเอง
การอยู่ร่วมกับแมวตัวอื่น อาจทำให้แมวเครียดได้
แมวไม่ใช่สัตว์ป่า ดังนั้นแมวอาจจะรู้สึกเครียดได้หากต้องอยู่ร่วมกับแมวตัวอื่น ๆ และมันส่งผลต่อคุณภาพชีวิต จิตใจ และสุขภาพของแมว และเจ้าของส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ ว่าการอยู่ร่วมกันกับแมวตัวอื่น ๆ สามารถทำให้พวกมันเครียดได้มากแค่ไหน และนอกเหนือจากการเข้ารับการตรวจตามปกติแล้ว สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่แมวถูกพาไปหาสัตว์แพทย์ คือบาดแผลจากการต่อสู้กับแมวตัวอื่น ๆ
มีแมวจำนวนมากเป็นโรคผิวหนังอักเสบและกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เนื่องจากความเครียดทางจิตใจ โดยเฉพาะการอักเสบของผนังกระเพาะปัสสาวะที่เชื่อมโยงกับฮอร์โมนความเครียดในเลือด วิธีแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือการแยกแมวสองตัวออกจากกัน เช่น ให้ตัวหนึ่งอยู่แต่หน้าบ้าน และอีกตัวอยู่แต่หลังบ้าน แล้วปัญหาเหล่านี้จะหมดไป
แมวฉลาดกว่าที่เราคิด
เวลาที่แมวอยู่ตัวคนเดียว เขาจะเรียนรู้ว่าควรร้องเสียงดังเพื่อให้เจ้าของได้ยินแล้วหันมาสนใจ พวกเขาใช้การเรียนรู้แบบตรงไปตรงมา และการที่แมวบางตัวปฏิบัติต่อสมาชิกคนหนึ่งในบ้านแตกต่างกับคนอื่น ๆ ก็เพราะพวกเขาเรียนรู้ว่าถ้าทำตัวดีกับคนนี้ แล้วจะได้รางวัลอะไรตอบแทน เช่น พวกเขารู้ว่าคนนี้มีแนวโน้มที่จะตื่นนอนตอนตี 4 พวกเขาก็อาจจะไปอ้อนหรือเดินไปถูขาถูแขน เพื่อหวังจะได้ขนมหรืออาหารบ้าง (แบบว่าได้สักนิดก็ยังดี)
สุดท้ายเราอยากจะฝากถึงคนเลี้ยงแมวว่า
แมวสามารถเข้าสังคมได้ แต่เมื่อเทียบกับสุนัขแล้วอาจจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่ค่อนข้างมีความสันโดนอยู่พอสมควร เมื่อเรามีแมว 1 ตัวแล้วเราอาจจะรู้สึกอยากมีตัวที่ 2 หรือ 3 ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องน่าสนุกสำหรับแมวที่ต้องทำความรู้จักกับแมวตัวใหม่ ดังนั้นก่อนเราจะมีแมวเพิ่มอีกตัว ควรศึกษาเจ้าเหมียวที่บ้านของเราดีๆด้วยนะ
อ้างอิงจาก: https://www.nationalgeographic.com/news/2014/1/140127-cats-pets-animals-nation-dogs-people-science/